วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

OEM License หรือ Origianl Equipment Manufacturer คืออะไร


OEM License หรือ Origianl Equipment Manufacturer


คือการซื้อ License ที่ถูกกฎหมายพร้อมๆกับคเมพวเตอร์เครื่องใหม่ ได้ทั้งกับองค์กร ห้างร้าน องค์กรขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลาง และไม่ต้องการยุ่งยากกับการใช้ซอฟต์แวร์การติดตั้งและการหา driver ต่างๆ โดยจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิงเตอร์เครื่องใหม่ ให้พร้อมสามารถใช้งานได้ในทันที
สิทธิและสิ่งที่จะได้รับ
- จะต้องซื้อพร้อมกับเครื่องใหม่เท่านั้นและจะติดไปกับเครื่องนั้นเท่านั้น โดยที่ไม่สามารถย้ายเครื่องได้ในกรณีที่เครื่องเสีย โดยในกรณีที่เป็นเครื่องที่เป็น partner กับ Microsoft อย่างถูกต้องจะมีชื่อผู้ผลิตเครื่องระบุในตัว COA ด้วยซึ่งถ้ามีปัญหาใดๆ ก็จะอ้างอิงจาก S/N เครื่องเป็นหลัก แต่ถ้าเป็นการติดตั้งแบบ OEM ที่ซื้อต่างหาก แบบที่ให้ทางร้านค้าประกอบเครื่องเอง เช่น ในห้างร้าน ITต่างๆ ทั่วไปนั้น จะผูกติดกับ M/B เป็นหลัก หาก M/B ของเครื่องนั้นๆ เสียและไม่สามารถใช้งานได้ละก็ OEM License ตัวนั้นก็จะสิ้นสุดสิทธิ์ในการใช้งานไปด้วย พูดง่ายๆ ถ้าเครื่องเกิดเสีย OEM ก็จะเสียไปกับเครื่องค่ะต้องซื้อใหม่ค่ะ
- ได้รับสิทธิในการใช้งานเวอร์ชั่นเก่าได้ (Downgrade Right) แต่ก็ตามที่ระบุไว้นะค่ะว่าสามารถ Dowmgradeได้ต่ำสุดเท่าไหร่
- ไม่สามารถใช้งานข้ามภาษาได้ ดูดีดีก่อนซื้อนะค่ะ ว่าผู้ใช้งานสะดวกใช่ภาษาไหน
- ในรุ่นใหม่ๆจะได้รับ Software Assurance ในกรณีที่กำลังจะมีการออกรุ่นใหม่ออกมาทำให้เราได้รับการอัพเกรดฟรี (ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับรุ่นที่ซื้อด้วยนะค่ะ)
อุปกรณ์ ของ OEM
- OEM จะมีสติ๊กเกอร์ใบรับรองสินค้าของแท้ (Certificate of Authenticity: COA) ให้มาแปะกับเครื่องและจะไม่สามารถนำออกไปได้ถ้าติดไปแล้วโดยจะมี CD-Key ระบุไว้อย่างชัดเจนบน สติ๊กเกอร์นั้นๆ
- ใบหรือการ์ดระบุคุณลักษณะในการใช้งานทั่วไป ต้องระบุให้ตรงกับการใช้งานจริงนะค่ะ ป้องการการสุ่มตรวจสอบค่ะ
- ใบอนุญาตการใช้งานสำหรับผู้ใช้ ปลายทาง (End User License Agreement)
- แผ่นดิสก์ หรือ CD ROM (เฉพาะบางรุนเท่านั้น)
พอจะเข้าใจมากขึ้นแล้วใช่ไหมค่ะ ง่ายๆค่ะ ต้องแยกประเภทการใช้งานออกไปก่อน

Full Package Product License คืออะไร


FPP License หรือ Full Package Product License


คือ license ที่มาในรูปแบบเป็นกล่องๆ ซึ่งเหมาะ สำหรับผู้ใช้ซอฟต์แวร์ส่วนบุคคล ใช้ตามบ้านทั่วๆ ไป หรือนิสิตนักศึกษา แต่ต้องไม่ใช้เพื่อการพาณิชย์ โดยต้องมีพื้นฐาน และมีความรู้ในการติดตั้งเองได้ เพราะต้องหาแผ่น driver ต่างๆ มาลงเครื่องเองด้วยตัวเอง แต่ข้อดีคือมีความคล่องตัวในการย้ายเครื่องได้มากกว่า แบบอื่น กรรมสิทะพื้นฐานที่จะได้จาก FPP คือ
- ใน 1 กล่อง สามารถใช้งานได้ 1 เครื่องเท่านั้น นะค่ะ

- แต่ สามารถโอนย้ายข้ามเครื่อง ได้ด้วยค่ะ สามารถทำการย้ายข้ามเครื่องได้ แต่ต้องลบซอฟต์แวร์ออกจากเครื่องเก่าก่อนนะค่ะ แล้วค่อยทำการติดตั้งใน เครื่องใหม่ จากนั้นโทรแจ้งศูนย์บริการของ Microsoft เพื่อทำเรื่องขอ Activation Software ใหม่ค่ะ

- ไม่ได้รับสิทธิในการใช้งานเวอร์ชั่นเก่าได้ คือไม่สามาระ Downgrade ได้นั้นเอง

- ไม่สามารถใช้งานข้ามภาษาได้ ต้องดูดีดีก่อนซื้อว่าถนัดภาษไหนค่ะ

- ในรุ่นใหม่ๆทีกำลังออกมาจะได้ Software Assurance เกรดฟรี บางรุ่น(ส่วนใหญ่)
อุปการณ์พื้นฐานภายในกล่อง

- คู่มือการใช้งาน 2 ภาษา

- ใบรับรองสินค้า (Certificate of Authenticity: COA) ติดอยู่ข้างกล่อง

- ใบอนุญาตการใช้งานสำหรับผู้ใช้ ปลายทาง (End User License Agreement)

- แผ่นดิสก์ หรือ CD ROM

อันนี้ถึงอย่างไรก็แนะนำให้ซื้อ กล่องFull Package Product License แบบถูกต้องตามกฎหมายนะค่ะ ช่วยๆกันค่ะ บ้านเราจะได้ไม่โดนว่า ว่าชอบละเมิดลิขสิทธ์คนอื่น

License ถูกกฎหมาย ที่ต้องรู้

การเลือกซื้อ Microsoft license ถูกต้องกับการใช้งาน นั้น ต้องมาดูกันค่ะว่า ในงานที่เราต้องการใช้เป็บแบบไหน เช่น ใช้ในบ้านแบบส่วนตัว ,ใช้สำหรับองค์การหน่วยงานเอกชน หรือว่าใช่กับหนาวยงานราชการ สถานศึกษา เอาเป็นว่าแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้ดังนี้ค่ะ





1.แบบ Full Package License : สำหรับผู้ใช้ซอฟต์แวร์ในปริมาณน้อย ใช้ในบ้าน 1-2 เครื่อง อะไรประมาณนั้น หาซื้อได้ตามร้าน IT ทั่วไปค่ะ จะขายเป็นแบบกล่องๆ


2.แบบ OEM License : ติดตั้งไปพร้อมกับการจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ หมายถึงว่าเราจะต้อง ซื้อ OEM License พร้อมกับเครื่องคอมพวเตอร์ใหม่ถอดด้าม ถ้าเครื่องเกิดเสียเมื่อใช้ไปซักระยะLicense ชนิดนี้ก็จะหมดอายุไปพร้อมกันเครื่องค่ะ แต่ OEM License ราคาก็จะถูกกว่าแบบ Open License





3.แบบ Open license : สำหรับองค์กรธุรกิจขนาดเล็ก และขนาดกลางที่ต้องการใช้ลิขสิทธิ์ไมโครซอฟท์ตั้งแต่ 5 ชุดขึ้นไปในการสั่งซื้อครั้งแรก Open License สามารถใช้ได้กับเครื่องเก่า ที่ยังไม่เคยใช้ License ที่ถูกกฎหมายมาก่อนค่ะ แต่ต้องซื้อพร้อมกัน 5 ชุดขึ้นไป


4.แบบ Microsoft Academic Edition (AE) : สำหรับสถานศึกษาหรือองค์กรที่มีวิริยะฐานะเท่าเทียมกัน ซื่อจะได้ในราคาเฉพาะ เช่น


• โรงเรียน หลักสูตรปกติ รับรองโดยกระทรวงศึกษาธิการ


• วิทยาลัย มหาวิทยาลัย (ภาครัฐและเอกชน)


• นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ • ห้องสมุดของสถาบัน


• โรงเรียนสอนคอมพิวเตอร์ ที่จัดตั้งตามมาตรา 15(2) พรบ. โรงเรียนเอกชน (ใบอนุญาตระบุหลักสูตรคอมพิวเตอร์เท่านั้น)

เริ่มแยกประเภทออกเป็น 4 แบบ ก็จะทำให้เราเข้าใจง่ายขึ้น ในแต่ละประเภท ก็จะถูกแยกย่อยออกไป เพื่อให้เหมาสมกับประเภทการใช้งานด้วยค่ะ ราคาและคุณภาพก็จะแตกต่างกันออกไป